แนะนำ 7 ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับกระบวนการจัดการความรู้

1.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย โดยจะคัดเลือกว่าจะใช้เครื่องมืออะไรโดยอาจจะพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร2.การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น การปรับปรุงรูปแบบของเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม5.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีได้แก่ การจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ หรือจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง เป็นต้น7.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น การเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ

🎈หลักการง่าย ๆ 8 ข้อกับการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ🎈

👉 องค์กรที่มุ่งเน้นลูกค้า (Customer-Focused Organization) เป็นหลักการที่ใช้การจับจุดให้ได้ว่า อะไรคือ Customer Needs & Expectation และสามารถตอบสนองในจุดที่ลูกค้าต้องการให้ดีที่สุด ให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการให้ได้มากที่สุด 👉 ภาวะผู้นำ (Leadership) ความสามารถของผู้นำที่สามารถชักนำ โน้มน้าวให้คนคล้อยตามได้ มีเป้าหมายที่ชัดเจน และสามารถนำคนให้ปฏิบัติกิจกรรมใดๆ ให้ลุล่วงเป้าหมายนั้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 👉 การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Involvement of People) เพราะคนที่จะเป็นผู้ลงมือทำระบบนั้นก็คือตัวพนักงานเอง และต้องใช้ความร่วมมือกันอย่างแข็งขันทั่วทั้งองค์กร 👉 วิถีเชิงกระบวนการ (Process Approach) หมายถึง ให้มองงาน / กระบวนการ / กิจกรรมต่างๆ ให้มองเป็นรูปแบบของกระบวนการที่แต่ละ Process จะมีทั้งปัจจัยเข้า และปัจจัยออก 👉 วิถีเชิงระบบในการจัดการ (System Approach to Management) หลังจากที่เราได้ Process ในการทำงานแล้วให้เรานำ Process มาเรียงกันก็จะได้เป็นระบบ (System) จากนั้นจะเป็นไปตามลำดับแลการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) […]

💡ส่อง คุณสมบัติของหัวหน้างานที่ประสบความสำเร็จกัน ว่ามีอะไรบ้าง💡

✔ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน เมื่อพวกเขาได้แสดงความสามารถที่ทำให้คุณพึงพอใจแล้ว จงบอกพวกเขา และแสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณเอาใจใส่ เชื่อใจ และมองเห็นสิ่งที่ดีในตัวพวกเขา ✔ สื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นประจำในทุก ๆ ช่องทาง ทั้งแบบตัวต่อตัว ทั้งผ่านเอกสาร และการเขียนอีเมล รวมถึงการฟัง และให้คำแนะนำติชมพวกเขา ✔ สร้างทีมให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้สมาชิกในทีมได้มีพัฒนาการในการทำงาน ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ และความคิดสร้างสรรค์ และได้ผลิตผลที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น ✔ รู้จักวิธีการสร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้พวกเขามีแรงจูงใจในการอุทิศตนให้กับการทำงาน เพื่อเป้าหมายคือความสำเร็จขององค์กร ✔ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง และสร้างทัศนคติให้ลูกน้องได้ตระหนักถึงความสำคัญในการทำตามแบบอย่างของคุณ ✔ ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการพัฒนาทักษะและความสามารถด้านต่างๆ ผ่านการเรียนรู้จากการทำงานในทุก ๆ วัน ให้ได้มากที่สุด😊😊

🔎 ส่อง พฤติกรรมของผู้นำแต่ละประเภทว่ามีอะไรบ้าง 🔎
ตัวอย่างของผู้นำบางประเภท ลองมาดูว่าคุณเป็นผู้นำแบบไหน

🌈 ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก / สตรีเหล็ก (Strongman)เป็นผู้นำที่ใช้แต่คำสั่งคำหรือแนะนำเป็นเครื่องมือทำให้เกิดอิทธิพลต่อผู้ตาม ผู้นำแบบนี้ใช้อำนาจที่มากับตำแหน่งด้วยวิธีข่มขู่ให้ลูกน้องเกรงขาม และนิยมที่จะใช้คำสั่งที่ลงไปข้างล่างให้ลูกน้องหรือคนอื่นจำต้องยินยอมปฏิบัติตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 🌈 ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactor)เป็นผู้นำที่ใช้รางวัล (rewards) เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกับการปฏิบัติตาม ของผู้ตามรางวัลหรือผลประโยชน์แลกเปลี่ยนจึงเป็นอาวุธสำคัญที่ทำให้ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ตามให้ยินยอมปฏิบัติตาม 🌈 ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (Visionary hero)เป็นผู้นำที่ใช้บุคลิกภาพและความสามารถพิเศษ (charisma) ของตัวเองเป็นเครื่องมือ ทำให้เกิดอิทธิพลกระตุ้นเกิดแรงบันดาลใจแก่ผู้ตามให้อยากทำตามอย่าง ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่อตัวผู้นำ 🌈 ผู้นำแบบชั้นยอด (Super Leader) เป็นผู้นำที่มุ่งพัฒนาผู้ตาม เพื่อให้สามารถนำตนเองได้ จนในที่สุดผู้ตามก็แปรสภาพไปเป็นผู้นำโดยอัตโนมัติ เป็นผู้ที่ยึดเอาจุดแข็งของผู้ตามเป็นสำคัญ เป็นผู้นำที่เข้าใจนำคนอื่นให้เขารู้จักนำตัวเอง 😊😊