ความเครียดในการทำงานมีวิธีที่จะลดความเครียดในที่ทำงานโดยการจัดการกับความเครียด Stress Management เป็นการสอนให้รู้จักเรื่องความเครียด ผลเสียของความเครียด เทคนิคการลดความเครียด การจัดการกับความเครียดจะทำให้ลดอาการของความเครียดและอาการนอนไม่หลับ การจัดการเกี่ยวกับความเครียดเป็นเพียงลดอาการของความเครียดชั่วคราวเท่านั้น ปัญหาหลักจริงๆ อาจเกิดจากองค์กร ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงองค์กรOrganizational Change เป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุของความเครียดและเพื่อลดความเครียด แต่ผู้บริหารมักจะไม่ชอบเนื่องจากจะกระทบต่อการทำงาน ผลผลิตรวมทั้งต้นทุนของการดำเนินงาน เรามาดูวิธีการจัดการกับความเครียด Stress Management กันค่ะ
จัดปริมาณงานให้เหมาะกับความสามารถและทรัพยากร
จัดงานที่มีความหมายท้าทายและใช้ทักษะในการทำงานรวมทั้งความก้าวหน้า
จัดตารางความหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน
ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับงาน
ให้มีการสื่อสารที่ดีเพื่อลดความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน
จัดให้มีการสังสรรค์ในหมู่ผู้ทำงาน
การป้องกันความเครียดที่เกิดที่ทำงาน
การที่จะรอให้เกิดปัญหา อาจจะสายเกินแก้เนื่องจากพนักงานอาจจะกังวลเกี่ยวกับการจ้างงานก็เป็นไปได้ ดังนั้นต้องมีวิธีที่จะป้องกันปัญหาความเครียดที่เกิดจากที่ทำงานโดยการค้นหาปัญหาซึ่งสามารถกระทำได้โดย
การประชุมกลุ่มทำงานเช่นกลุ่มผู้บริหารกลุ่มหัวหน้าคนงานกลุ่มตัวแทนคนงาน ซึ่งจะทำให้ทราบปัญหา
การทำแบบสอบถามงานที่ทำให้เกิดความเครียดอาการของความเครียด
การสำรวจการหยุดงานความเจ็บป่วยและการเปลี่ยนงาน
การวิเคราะห์ปัญหา
การวางแผนและการแก้ไข เมื่อทราบปัญหาเราก็จะทราบแนวทางแก้ไขพร้อมทั้งแจ้งให้แกพนักงานทราบแนวทางและผลที่จะได้รับ
การประเมินผล หลังจากที่ได้ปฏิบัติตามแผนแล้วก็ต้องมีการประเมินโดยทำเหมือนกับข้อแรก
จะเห็นว่าการทำงานเป็นสาเหตุให้คนเราเกิดความเครียดได้เสมอไม่มากก็น้อย และ เมื่อเกิดความเครียดแล้ว แต่ละคนจะมีปฏิกิริยาแตกต่างกันออกไป บางคนอาจปวดศีรษะ ไมเกรนกำเริบ บางคนท้อง อืดเฟ้อ บางคนหงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย บางคนถอนผม บางคนกัดหรือฉีกเล็บ บางคนนั่งเขย่าขาโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนให้คุณทราบว่าคุณมีอาการเครียดจากการทำงาน ดังนั้นมีอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราคลายความเครียดไปได้ ก็คือรีบผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
ประการแรก คงต้องออกกำลังกายเพื่อระบายฮอร์โมนแห่งความเครียดออกไปให้หมด จะเป็นการออกกำลังกายระหว่างการทำงาน เช่น การเดินขึ้นลงบันได หรือจะเป็นการเล่นกีฬา หรือทำงาน บ้านในตอนเย็นหลังเลิกงาน หรือในวันหยุดก็ได้ การออกกำลังกายจนได้เหงื่อจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา ช่วยให้ร่างกายและจิตใจสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
ประการที่สอง คือต้องพักผ่อนให้พอ ไม่จำเป็นอย่าเอางานกลับไปทำที่บ้าน ต้องรู้จัก บริหารเวลา เพื่อจะได้มีเวลาพักผ่อนส่วนตัวและมีเวลาให้ครอบครัวด้วย อย่าลืมว่าเครื่องจักรยังต้องมีเวลา หยุดพัก และซ่อมบำรุง คุณเองก็เช่นกันต้องมีเวลาพักผ่อนบ้างเพื่อจะได้มีพลังสำหรับการทำงานในวันต่อไป
ประการที่สาม คือการพูดคุยปรึกษาปัญหาที่คุณหนักใจกับคนใกล้ชิด แม้บางครั้งเขาอาจ ช่วยคุณแก้ปัญหาไม่ได้ แต่การได้พูดสิ่งที่อัดอั้นในใจออกไป และได้คำปลอบประโลมกลับมา คุณจะรู้สึก ดีขึ้น สบายใจขึ้น และเมื่อใจสบาย สมองปลอดโปร่ง ก็อาจคิดแก้ปัญหาได้ในเวลาต่อมา
ประการที่สี่ คือการรู้จักปรับเปลี่ยนความคิด อย่าเอาแต่วิตกกังวลให้มากเกินไป ลองคิดในหลายๆ แง่มุม คิดในสิ่งดีๆ คิดอย่างมีความหวังบ้าง และอย่าคิดหมกมุ่น แต่ปัญหาของตัวเอง คิดถึงคนอื่นบ้าง ยังมีคนลำบากกว่าคุณอีกมาก จะได้มีกำลังใจต่อสู้ปัญหาต่อไป
ประการสุดท้าย คือการฝึกเทคนิคคลายเครียด เช่น การหายใจเข้าลึกๆ ให้ท้องพองออก และ หายใจออกช้าๆ ให้ท้องแฟบลง จะช่วยชะลอความโกรธ คลายความกังวล
ที่มาของข้อมูล
www.thaihealth.or.th › สาระสุขภาพ › ทันกระแสสุขภาพ : วิธีลดความเครียดในการทำงาน
www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/psy/…/work_stress.htm : โรคเครียด/ความเครียดที่เกิดจากงาน
www.bupa.co.th/th/corporate/health-wellbeing/detail.aspx?tid=49 : สุขภาพในที่ทำงาน-ความรู้เรื่องการกำจัดความเครียดในที่ทำงาน