5 ช่องทางในการสรรหาคนเก่ง
หากเราเข้าใจว่าช่องทางการสรรหาบุคคลที่สำคัญหลักๆ มีอะไรบ้าง แต่ละช่องทางโดดเด่นด้านไหนและมีข้อจำกัดอย่างไร ก็สามารถทำให้บริษัทเฟ้นหาพนักงานที่มีความสามารถ
รับพนักงานที่ใช่ได้ไม่ยาก! และนี่คือ 5 ช่องทางการหาบุคลากรที่สำคัญของยุคนี้ ที่เหล่า HR ต้องทำความเข้าใจด้วยประการทั้งปวง!
- Social Media
•
o
จากผลวิจัย คนไทยใช้เวลาอยู่กับ Social Media มากถึง 3 ชม./วัน
กลุ่มผู้ใช้งานที่ใหญ่ที่สุดคือ อายุระหว่าง 25-34 ปี ซึ่งอยู่ในวัยทำงาน
Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้งานมากที่สุดกว่า 50 ล้านคน (70% ของประชากรทั้งประเทศ)
คงไม่ต้องหาตัวเลขเพื่อมาพิสูจน์ความนิยมของ Social Media อีกต่อไป มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันพวกเราไปแล้ว นี่คือพื้นที่ที่ผู้คนมารวมตัวกัน และเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ HR มีโอกาสสรรหาคนอย่างทั่วถึงครอบคลุมได้มากที่สุด…ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าช่องทางอื่น และสามารถเจาะจงสื่อสารไปยังเฉพาะกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า การ Recruit คนผ่าน Social Media จึงเสมือนการยืงปืนนัดเดียวได้นก(ที่ต้องการ)หลายตัว
ทุกวันนี้เราเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่สมัยใหม่ประกาศรับสมัครงานโดยใช้ Social Media เป็นช่องทางหลักด้วยซ้ำ เช่น Uniqlo รับคนในตำแหน่ง UNIQLO Manager Candidate ผ่านการสื่อสารทาง Facebook
และด้วยฟีเจอร์มากมายของโซเชียลมีเดียที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภค อาทิเช่น วิดีโอ ซึ่งสามารถถ่ายทอดประสบการณ์บางอย่างที่ช่องทางอื่นทำไม่ได้ อย่างเช่น บรรยากาศสภาพแวดล้อมที่ทำงานของจริง
อย่างไรก็ตาม Social Media แต่ละแพลตฟอร์มมีธรรมชาติผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน แพลตฟอร์มที่เน้นคอนเนคชั่นด้านการงานโดยเฉพาะอย่าง LinkedIn มักเป็นที่อยู่ของตลาดแรงงานระดับกลาง-สูงเป็นต้นไป ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย หลายคนถูกรับเลือกจากคอนเนคชั่นผ่านแพลตฟอร์มนี้ ขณะที่การสรรหาบุคคลตำแหน่งระดับสูงไม่ค่อยได้รับความนิยมใน Facebook นัก การเลือกใช้แพลตฟอร์มที่น่าจะตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่สุดจึงเป็นเรื่องที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย
นี่เป็นช่องทางการสรรหาบุคคลรแบบ Passive คือผู้สมัครเป็นฝ่ายเข้าหาตัวบริษัทเอง และมักเป็นผู้สมัครที่มีความสนใจในตัวบริษัทเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงมีโอกาสในการได้คนสูง การสร้างเว็บไซต์ (Career site) เพื่อรับสมัครพนักงาน ที่มีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจสำหรับผู้สมัครและมีดีไซน์หน้าตาเว็บไซต์ที่น่าดึงดูด ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมากไปในตัว
ถึงกระนั้นแล้ว ความที่เป็น Passive จึงอาจไม่ใช่ช่องทางรับสมัครงานที่เจาะกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวางนัก การทำให้คนมาสมัครเป็นจำนวนมากจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยและต้องอาศัยกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง
เราจะเห็นว่าแต่ละช่องทางมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้ทรัพยากรเยอะ แต่มีอยู่วิธีที่สามารถนำข้อมูลมารวมกันและจัดการได้ในที่เดียว ภายใต้ระบบที่ชื่อว่า “Recruitment Management System” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “RMS”
RMS คืออะไร?
คือ “ระบบรับสมัครงานแบบครบวงจร” ที่จบในที่เดียวจากต้นน้ำ-ปลายน้ำ ตั้งแต่เริ่มโพสงานในช่องทางที่หลากหลาย คัดกรองผู้สัมภาษณ์ นัดสัมภาษณ์ วิเคราะห์คุณสมบัติผู้สมัครกับฐานข้อมูลเพื่อหาคนที่ใช่ที่สุด จนไปถึงการรับสมัครบุคลากร
ช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก การติดต่อ-ติดตามที่ซับซ้อน หรืองานเอกสารมากมายที่สิ้นเปลืองทรัพยากร และ Win-Win กับทุกฝ่าย ทั้งผู้จ้างงานกับผู้สมัครงาน เพราะหลายขั้นตอนเหล่านี้เกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ คือ ไม่จำเป็นต้องใช้คนในการดำเนินการไปเสียหมดทุกขั้นตอน ทุกอย่างถูกรันอยู่ในระบบอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในตัวเอง
ตัวอย่าง Features ของ RMS
• Applicant Tracking System (ATS): ติดตามผู้สมัครงาน นัดสัมภาษณ์ และอัพเดทผลลัพธ์ต่างๆ
• AI & Machine Learning: ที่เรียนรู้ประวัติการจ้างงานที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาต่อยอดสู่การรับสมัครที่ได้คนที่ใช่มากขึ้น รวมถึงขั้นตอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• Centralized Database: เก็บรายละเอียดประกาศงานและข้อมูลผู้สมัครทุกคน กรณีอนาคตเปิดรับตำแหน่งนี้อีก สามารถมี Talent Pool เฟ้นหาคนที่มีความสนใจในตำแหน่งนี้ได้ง่ายขึ้น
• Analytics: ระบบวิเคราะห์ว่า แคมเปญหรือโปรเจ็คท์การจ้างงานนั้นๆ มีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร
RMS เป็นระบบที่เหล่า HR และผู้ประกอบการยุคใหม่ เริ่มให้ความสนใจและกำลังหาวิธีประยุกต์ใช้ให้เข้ากับองค์กรของตนอยู่ และเป็นหนึ่งใน Creative Recruitment Techniques ที่ HR ต้องทำความเข้าใจในปี 2020 นี้ ซึ่ง ScoutOut เองถือเป็นหนึ่งในผู้นำที่บุกเบิกเรื่องนี้เป็นเจ้าแรกๆ ในประเทศไทยเช่นกัน
เพราะสมรภูมิการเฟ้นหาบุคลากรคนเก่งที่มีพรสวรรค์มีการแข่งขันที่สูงมาก เพราะองค์กรขับเคลื่อนด้วยคน และการได้คนเก่งคุณสมบัติเพียบพร้อมสามารถชี้เป็นชี้ตายอนาคตขององค์กรใดองค์กรหนึ่งได้เลย!