ทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะกลุ่มคนเก่ง ถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่มีส่วนส่วนเสริมให้ผลประกอบการขององค์กรดีขึ้น องค์กรหลายแห่งจึงเริ่มสนใจและให้ความสาคัญกับการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ได้บุคลากรที่มีศักยภาพสูง แต่ในองค์กรต่างๆ ประกอบด้วยบุคลากรหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่มีผลงานการปฏิบัติที่ดี ไม่ดี และกลุ่มที่ไม่พึงปรารถนาขององค์กร
ทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพสูง หรือ คนเก่ง (Talent people) คือ ปัจจัยหลักที่มีส่วนส่งเสริมองค์กรให้สามารถบรรลุเป้าหมาย องค์กรใดสามารถสร้างคนเก่งและให้คนเก่งได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ ย่อมส่งผลต่อความประสบความสาเร็จขององค์กร การบริหารจัดการคนเก่ง (Talent Management) เป็นหัวใจของการบริหารงานบุคคลที่ให้ความสาคัญกับศักยภาพของบุคลากรหรือกลุ่มกลุ่มคนที่มีศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานและสร้างเสริมความก้าวหน้าให้กับองค์กร เป็นกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรให้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมฐานความรู้ (information and knowledge – based society) ในปัจจุบัน
ระบบการบริหารคนเก่ง คือ กระบวนการค้นหา พัฒนา ให้ผลตอบแทน และรักษาคนที่มีความสามารถและศักยภาพไว้กับองค์กร ดังนี้
- การระบุคนเก่ง (Identification) หมายถึง การค้นหาคนเก่งด้านต่างๆ ที่อยู่ในองค์กร ด้วยกระบวนการที่เป็นระบบ เพื่อให้ทราบว่าในองค์กรใครคือคนเก่ง และเก่งในด้านใด ทาให้สามารถบริหารความเก่งรวมทั้งการกาหนดนโยบายสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร โดยการกาหนดเป้าหมายสูงสุดขององค์กร แล้วแปลงเป้าหมายขององค์กรมาสู่เป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน แล้วกาหนดคุณสมบัติและคุณลักษณะของคนเก่งที่สอดคล้องกับความต้องการ ของหน่วยงาน จากนั้นจึงประเมินบุคลากรในหน่วยงานเพื่อค้นหาคนเก่งที่มีคุณสมบัติและคุณลักษณะสอดคล้องกับที่หน่วยงานต้องการ
- การจัดบุคลากร (staffing) หมายถึง การจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับตาแหน่งงาน ประกอบด้วยการสรรหาบุคลากร การเลื่อนตาแหน่ง การเปลี่ยนสายงาน การวางแผนบุคลากร การจัดการความหลากหลายของบุคลากร
- การจัดระบบงาน (organizing) หมายถึง การจัดโครงสร้างองค์กร การกาหนดภารกิจ ของแต่ละหน่วยงานในภาพรวมไปสู่งานย่อยและกิจกรรม รวมทั้งการจัดรูปแบบหน่วยงาน ความเชื่อมโยงของแต่ละหน่วยงาน การกาหนดทีมงาน การออกแบบงานและการสื่อสาร
- การฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง (Training and Development) หมายถึง การเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และความสามารถ การวางแผนพัฒนาส่วนบุคคล (Individual Development Planning) การฝึกอบรมควบคู่กับการปฏิบัติงาน (On the job training) การประเมินความสามารถ ผลการปฏิบัติงาน และศักยภาพของบุคลากร เพื่อให้ทราบว่าใครคือคนเก่งขององค์กรแล้วดาเนินการฝึกอบรมและพัฒนาเติมเต็มให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติงาน ความชานาญ หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามที่องค์กรคาดหวังไว้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คนเก่งสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การสอนงาน (Coaching) การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) การมอบหมายงานเร่งด่วนหรืองานพิเศษ (Interim and Emergency Assignment) การมอบหมายงาน (Task Force Assignment) การฝึกอบรมนอกสถานที่ (Off – site training)
การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self – learning) การให้การศึกษาในสถานที่ทางาน การฝึกอบรมภายนอก (Executive Programs and External Course Work) การเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต (E – learning) - การบริหารผลการปฏิบัติ (Performing) หมายถึง การบริหารจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรและองค์กร ได้แก่ การตั้งเป้าหมายขององค์กรและมอบหมายให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ กาหนดทีมงานและบุคคล การกาหนดวิธีการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ รวมทั้งความคาดหวังในผลสาเร็จ แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (feedback)
- การจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัล (Compensation and Rewarding) หมายถึง การให้เงินเดือน เงินโบนัส หรือค่าตอบแทนอื่นๆ รวมทั้งสวัสดิการ ซึ่งมีการออกแบบการจ่ายค่าตอบแทนและรางวัลอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม (Equity and Fairness) ทั้งต่อคนเก่งและบุคลากรทั่วไป มุ่งเน้นการให้ความสาคัญกับความสมดุลระหว่างชีวิตการทางานและชีวิตส่วนตัวของคนเก่งนอกเหนือจากการมอบสิ่งจูงใจในรูปตัวเงิน
- การรักษาคนเก่งไว้กับองค์กร (Retention) หมายถึง การปฏิบัติต่อคนเก่งด้วยความเคารพและให้เกียรติเพื่อให้คนเก่งมีความจงรักภักดีและยึดมั่นต่อองค์กร รักองค์กร พร้อมที่จะใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาปฏิบัติงานให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้า เช่น การสร้างโอกาสก้าวหน้า ในอาชีพ (Career Path)การกาหนดแผนการสืบทอดตาแหน่ง (Succession Planning) การให้โอกาสในการพัฒนา เช่น การจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการที่สร้างสรรค์ การให้รางวัลและการตระหนักถึงความสาคัญของพนักงาน การบริหารผลการปฏิบัติงาน การปรับเป้าหมายของพนักงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ กลยุทธ์การเพิ่มความพึงพอใจของพนักงาน การวัดความพึงพอใจ ของพนักงาน การวางแผนสายอาชีพ กลยุทธ์ความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว การสร้าง ข้อผูกมัดในการจ้างงาน กลยุทธ์การบริหารขีดความสามารถ คานึงถึงความต้องการของพนักงาน การพัฒนาพนักงานด้วยระบบพี่เลี้ยง กาหนดวัฒนธรรมองค์การ ระบบสอนงานเพื่อการพัฒนา สายอาชีพ กลยุทธ์การสร้างให้พนักงานเจริญเติบโตและจงรักภักดีต่อองค์การ กลยุทธ์การควบรวมและยุบรวมกิจการเพื่อการรักษาพนักงาน
คนเก่งหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในองค์กรที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีความสามารถ และศักยภาพสูง การบริหารคนเก่งให้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรม ให้คนเก่งได้พัฒนาตนเองและเพื่อนรวมงานให้มีความเก่งยิ่งขึ้น จะทาให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน เป็นองค์กรที่มีองค์ความรู้และนวัตกรรม การบริหารคนเก่งที่ประกอบด้วย การจัดบุคลากร การจัดระบบงาน การเรียนรู้ การบริหารผลการปฏิบัติ และการจ่ายค่าตอบแทน รวมทั้งกระบวนการบริหารคนเก่ง 4 ขั้นตอน ได้แก่ การระบุคนเก่ง การฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง การจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัล และการรักษาคนเก่งไว้กับองค์กร จึงเป็นปัจจัยสาคัญที่จะทาให้องค์กรมีคนเก่งจานวนมาก และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ส่งผลให้องค์กรเป็นองค์กรที่มีคุณภาพในระยะยาว