ผู้ถูกกระทำสามารถแจ้งความเอาผิดต่อผู้ที่มากลั่นแกล้งหรือข่มเหงรังแกได้ โดยเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 397
- ได้รับมอบหมายงาน ที่ไม่สามารถทำได้
ตั้งแต่วันสมัครงาน ทุกคนจะต้องมี Job Description ของตนเองระบุไว้อยู่แล้ว หากได้เข้าไปทำงานจริงๆ แล้ว บางครั้งการได้ทำงานนอกเหนือจากหน้าที่ หากมองในแง่บวกก็ถือเป็นเรื่องดี ที่เราจะได้ฝึกฝนทักษะ และเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ แต่หากเป็นการถูกโยนงานให้แบบไม่ชอบธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งให้ทำงานที่ไม่ตรงขอบเขต จนลามไปถึงการกลั่นแกล้งให้เราเกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน จุดนี้ก็สามารถถือเป็นความผิดได้เช่นกัน
- ได้รับความกดดันมากไป
พื้นฐานของการทำงานที่ดีควรมาจากความสุข หากเรามีความสุขในการทำงานแล้ว ย่อมส่งผลให้ชิ้นงานนั้นๆ ออกมามีคุณภาพ แต่หากงานดังกล่าวกลับมีความกดดันเกิดขึ้น จนก่อให้ความเครียดสะสม ลามไปจนถึงการใช้ชีวิตประจำวันนอกออฟฟิศของเรา แบบนี้ก็ถือเป็นความผิดที่เสี่ยงอาญาได้
- ถูกดุด่าว่ากล่าวอย่างรุนแรง ต่อหน้าคนในออฟฟิศ
ในการทำงาน คนเรามักมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ในฐานะหัวหน้าที่ดีคือ สามารถเรียกลูกน้องไปตักเตือนด้วย แต่ต้องเป็นการเตือนแบบไพรเวท ไม่ใช่การดุด่าว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรงในสถานที่ที่มีคนอยู่ด้วยเยอะๆ หรือด่าต่อหน้าคนในออฟฟิศ ด่ากราดลูกน้องที่ทำผิดแบบไม่ไว้หน้าต่อหน้าธารกำนัล ทำให้ลูกน้องเกิดความอับอาย ก็สามารถนำเรื่องนี้มาร้องทุกข์กล่าวโทษได้เหมือนกัน
- ถูกสอบถามเรื่องส่วนตัวมากจนเกินงาม
การถูกละลาบละล้วงเรื่องส่วนตัวจนเกินไป แน่นอนว่าชีวิตในออฟฟิศมักไม่ได้มีแต่เรื่องงาน ซึ่งบางคนก็อยากแยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกันให้ชัดเจน แต่ก็มักจะมีกลุ่มคนบางประเภทที่มักจะอยากรู้ชีวิตส่วนตัวของคนอื่นมากจนเกินไป จนทำให้ผู้เสียหายรู้สึกอึดอัด
- ได้รับมอบหมายงานที่ไม่มีคุณค่า เพราะต้องการกลั่นแกล้ง
ข้อนี้อาจจะคล้ายๆ กับข้อ 1 แต่ก็มีหัวหน้าบางประเภทที่ไม่ชอบลูกน้องคนนี้เอาซะเลย เพราะฉะนั้นก็แกล้งด้วยการให้ลูกน้องคนนี้อยู่เฉยๆ ดีกว่า หรือมอบหมายงานอะไรสักอย่างที่ไม่มีคุณค่า แล้วพอถึงเวลาประเมินผลงาน ก็กลับตลบหลังด้วยการบอกว่าลูกน้องคนนั้นไม่มีผลงานชิ้นโบว์แดง เลยต้องให้คะแนนน้อยกว่าปกติ
- ถูกข่มขู่ว่าจะลดเงินเดือนหรือลดประโยชน์
ตามหลักแล้วก่อนการทำงาน เราทุกคนจะต้องมีการตกลงกับนายจ้างอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ว่าเงินเดือนที่ได้รับจะอยู่ที่เท่าไร และส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีการลดเงินเดือนเกิดขึ้น ดังนั้นถ้าหากเราถูกข่มขู่ด้วยเงื่อนไขที่ว่า ถ้าไม่ยอมทำงานที่ได้รับมอบหมาย แล้วจะถูกลดเงินเดือนหรือจะถูกลดผลประโยชน์ต่างๆ ให้รู้ไว้เลยว่า นี่คือการกลั่นแกล้งแน่นอน
- โดนบังคับให้ไปเที่ยวหรือดื่มเหล้าหลังเลิกงาน ทั้งๆ ที่ไม่เต็มใจ
ไม่ใช่ทุกคนที่จะรักการสังสรรค์ บางคนถ้าเลิกงานก็อยากกลับบ้านไปพักผ่อนและผ่อนคลายจากงานที่เหนื่อยมาทั้งวัน ดังนั้นถ้าใครโดนบังคับจากหัวหน้าให้ไปเที่ยวด้วย หรือออกไปดื่มเหล้าต่อจนดึกดื่นหลังเลิกงาน หรือนอกช่วงเวลางาน ก็สามารถนำเรื่องราวเหล่านี้ไปร้องทุกข์ได้เช่นกัน
- เมื่อทำความผิด แล้วถูกเอาไปเม้าท์ต่อลับหลัง
ถ้าหากเราดันเกิดทำงานผิดพลาด แล้วเพื่อนร่วมงานรู้ จนเกิดการเอาไปกระจายข่าวให้ระบือไกลซะยิ่งกว่าสำนักข่าวระดับโลก ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเรา ถ้าหากเราทนไม่ไหว แล้วอยากแก้เผ็ดบุคคลประเภทนี้ ก็สามารถดำเนินการฟ้องท่านเปาได้เลย
- ถูกประเมินผลงานแบบไม่แฟร์
เรื่องประเมินผลงานในออฟฟิศก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ การเป็นหัวหน้าที่ดีควรประเมินลูกน้องตามผลงานจริง ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง ถ้าลูกน้องคนไหนอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ให้รู้ไว้เลยว่า เราสามารถนำเรื่องดังกล่าวไปดำเนินการทางกฎหมายต่อได้
- ถูกนำความลับส่วนตัว ไปเปิดเผยต่อคนในออฟฟิศ
ทุกคนล้วนมีเรื่องส่วนตัวที่ไม่อยากเปิดเผยให้ใครรู้ทั้งสิ้น แล้วถ้าสุดท้ายความลับดันเกิดรั่วไหลไปเข้าหูขาเม้าท์ประจำออฟฟิศ จนทำให้เราเกิดความเสียหายล่ะ บอกเลยว่าแบบนี้ต้องการจัดการดำเนินคดี
อย่างไรก็ตามเพื่อสังคมออฟฟิศที่น่าอยู่ ทุกคนควรนึกถึงใจคนอื่น จะได้มีความสุขและอยากตื่นมาทำงานในทุกวัน ที่ Genz Manpower เรามีบริการสรรหาพนักงานครบวงจร หากต้องการใช้บริการติดต่อหาเราได้เลย
เครดิต : th.jobsdb.com/
หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่
098-2872450
094-9486465
Line: @GenZmanpower
หากต้องการสรรหาพนักงานที่ตรงใจ ติดต่อหาเรานะคะ