ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากลักษณะการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งโต๊ะทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมง ไม่ได้ขยับลุกไปไหน บางคนต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เกือบตลอดเวลา ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายหลายระบบ เช่น มีปัญหาปวดกล้ามเนื้อจากการนั่งทำงานนาน อาการชาที่มือเนื่องจากการกดทับเส้นประสาทที่มือ ปวดเสียดท้องจากการทานอาหารไม่ตรงเวลา สมรรถภาพของร่างลดลงเนื่องจากไม่มีเวลาออกกำลังกาย ฯลฯ
ตัวอย่างโรคในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นโรคทางกระดูกและกล้ามเนื้อ ได้แก่ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด (Myofascial pain syndrome) ปวดหลังจากท่าทางไม่เหมาะสม (Postural back pain) เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ (Carpal tunnel syndrome) นิ้วล็อค (Trigger finger) นอกจากนี้ระบบอื่นของร่างกายอาจได้รับผลกระทบจากการนั่งทำงานอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน ปวดศีรษะจากความเครียด ภาวะอ้วน เป็นต้น
อาการผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
- ผู้ที่ต้องทำงานลักษณะเดิมต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน เช่น นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ต่อเนื่อง ไม่ได้ลุกไปไหน หรือนั่งทำบัญชีเร่งด่วนตอนปลายเดือน
- ผู้ที่มีอาการปวดบริเวณไหล่ ต้นคอ สะบัก หลัง บางครั้งมีอาการปวดร้าวขึ้นศีรษะ หรือร้าวลงแขนขณะนั่งทำงานอยู่ ต้องขยับเปลี่ยนท่าทางจึงจะดีขึ้น
- อาการปวดสัมพันธ์กับช่วงที่ต้องทำงาน แต่พอช่วงวันหยุดอาการปวดไม่เป็นมาก
- ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีเวลาว่างออกกำลังกาย
สาเหตุหลักของโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
คือการใช้งานกล้ามเนื้องและข้อต่อที่ผิดไปจากภาวะปกติ เกิดจากการทำงานในพื้นที่จำกัดและขาดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ได้แก่
- นั่งไขว่ห้าง
- นั่งหลังงอ หลังค่อม
- นั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น
- ยืนแอ่นพุง/ยืนหลังค่อม
- สะพานกระเป๋าหนักข้างเดียว
4 วิธีการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
การป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรมประกอบด้วยหลายปัจจัย และทุกสาเหตุมีความสำคัญที่นำมาซึ่งอาการปวด ดังนั้นการป้องกันแต่ละวิธีจะมีส่วนช่วยให้ท่านมีความสุขกับการทำงานที่ปราศจากอาการปวด โดยการป้องกันนี้เป็นตัวอย่างที่จะแนะนำเพื่อลดการเกิดปัญหาออฟฟิศซินโดรม
- การปรับเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
- ไม่ทำงานในท่าทางอริยาบทเดิมนานเกิน 50 นาที หากมีความจำเป็นต้องทำต่อเนื่องควรหยุดพักสัก 10-15 นาที
- ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในการทำงานที่จำเป็นเพื่อลดการบาดเจ็บในระหว่างปฏิบัติงาน
- เตรียมร่างกายให้พร้อม เช่น การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่ต้องใช้งานหนัก, การยืดกล้ามเนื้อก่อน ระหว่าง และหลังจากการทำงานในแต่ละวัน
และนี่คือ 4 วิธีการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ให้เหมาะกับชีวิตการทำงานของตัวเอง อย่าปล่อยให้อาการออฟฟิศซินโดรมหยุดคุณจากการทำงานให้ประสบความสำเร็จ แต่ก็อย่าชะล่าใจทำงานหนักจนลืมดูแลสุขภาพของตัวเอง ไม่งั้นความสำเร็จที่คุณสร้างมาอาจจะต้องยกให้เป็นค่ารักษาพยาบาลในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าไม่คุ้มแน่นอน เพราะความสำเร็จทุกๆด้านไม่อาจชดเชยความล้มเหลวด้านสุขภาพได้ หากคุณมีปัญหารุนแรงลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัดดูครับ
Credit :