1. การเข้าใจภาษากาย
ภาษากายหรือการสื่อสารด้วยอวัจนภาษาเป็นศิลปะที่ละเอียดอ่อนที่มีศักยภาพ สามารถนำไปใช้ได้ในหลาย ๆ สถานการณ์ เช่น การยืนและท่าทางที่เหมาะสมท่ามกลางคนเยอะ ภาษากายมีความสำคัญในสถานการณ์แบบตัวต่อตัวด้วย เมื่อคุณอยู่ที่การสัมภาษณ์งานหรือการประเมินผลให้รักษาระดับสายตาไว้เสมอเมื่อคุณพูดอยู่กับใคร
2. การมีส่วนร่วมในการโต้ตอบ
การสื่อสารที่ดีเปรียบเสมือนถนนสองทาง เพราะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นจะมีการโต้ตอบจากอีกฝ่าย เพราะฉะนั้น การสื่อสารท่ามกลางคนจำนวนมาก
หากคุณนำประเด็นที่น่าสนใจขึ้นมาซึ่งทำให้ผู้ฟังได้คิดตาม และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แสดงว่าการสื่อสารของคุณนั้นมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
3. การพูดโดยฉับพลัน
การสื่อสารโดยทันทีจะมีประสิทธิภาพสูง เป็นสิ่งที่ทนายมักในศาล เพื่อให้การพูดมีความต่อเนื่องและไม่ออกนอกเรื่อง วิธีนี้เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม ช่วยให้คุณมีความยืดหยุ่นและเสรีภาพในการตัดสินปฏิกิริยาของผู้ชมและมีส่วนร่วมในประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้น
4. การรู้จักผู้ฟังของคุณ
การที่คุณรู้ว่าคนที่คุณกำลังจะติดต่อด้วยเป็นใครคือกุญแจสำคัญสำหรับการทำตัวอย่างไรเพื่อให้เข้าใจถึงข้อมูลที่คุณต้องการ แม้แต่ในบริษัท คุณอาจจะต้องใช้เวลาเพื่อทำความรู้จักสมาชิกในทีมรวมถึงวิธีการทำงานของเขาด้วย
5. การเป็นผู้ฟังที่ดี
การเป็นผู้สื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้น คุณควรฟังมากกว่าที่คุณพูด เพราะเมื่อคุณกำลังคุยกับใครซักคนแล้วคุณไปพูดขัดจังหวะเขาหรือพูดคุยตลอดเวลา นั่นแสดงว่าคุณบกพร่องต่อการสร้างสัมพันธ์ขั้นพื้นฐาน
6. การสื่อสารตรงตามจุดประสงค์
การที่คุณพูดในเรื่องที่ตรงประเด็น หมายความว่าการสื่อสารของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเนื้อหามีความสั้น ชัดเจนและกระชับ จะทำให้คุณไม่ออกนอกเรื่องไปไกล สามารถพูดได้ตรงตามประสงค์มากขึ้น
7. การหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวน
หากคุณอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญของการสนทนา แล้วมีเสียงโทรศัพท์เข้ามารบกวนแล้วคุณกดอ่านข้อความ นั่นจะทำให้เสียมารยาทและคุณจะกลายเป็นที่ไม่ยอมรับของคนอื่น ดังนั้นหากคุณโฟกัสอยู่กับบางอย่าง คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงการรับสายโดยการโทรกลับไปทีหลัง เพื่อทำในสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้เต็มที่
8. การเลียนแบบผู้อื่น
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องการปรับปรุงทักษะในด้านต่างๆ แนวทางที่เป็นโยชน์คือการศึกษาผู้ที่เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ เพราะการเรียนรู้หรือได้รับแรงบันดาลใจจากพฤติกรรมและกิจวัตรประจำวันจากผู้อื่น คุณอาจจะได้ข้อมูลเงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้
9. บันทึกการสื่อสารของตัวเอง
เทคนิคการปฏิบัติที่สามารถปรับปรุงทักษะการสื่อสารของคุณ คือการบันทึกเสียงของตัวเอง เพราะคุณจะรู้ว่าเมื่อคุณพูดมีลักษณะอย่างไร และควรปรับปรุงตรงไหนบ้าง
หลังจากอ่านแล้ว เราอาจประเมินว่าทักษะข้อไหนที่เราทำได้ดี และข้อไหนที่เราทำได้ดีน้อยสุด อยากเริ่มพัฒนาก่อน แล้วฝึกที่ข้อนั้นๆ ก่อนครับ