🏆 7 สวัสดิการมาแรงในยุค 2022 เอาใจคนรุ่นใหม่ 🏆

✔️ ระบบการทำงานแบบยืดหยุ่น นช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ เทรนด์การทำงานแบบ Hybrid ลดวันเข้าออฟฟิศ หรือสลับวัน Work from home เป็นอะไรมาที่มาแรงแบบทะลุเพดาน ✔️ สวัสดิการด้านสุขภาพ การตรวจสุขภาพประจำปี ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตต่าง ๆ เป็นสิ่งที่องค์กรควรมีให้พนักงานเป็นสวัสดิการพื้นฐาน ✔️ สวัสดิการที่ส่งเสริมงานอดิเรก นอกเหนือจากในแง่การทำงานแล้ว การสนับสนุนความสุขของพนักงานในด้านอื่น ๆ ก็เป็นทางเลือกที่ซื้อใจคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าใจของคนทำงานเป็นสุข ได้รับการเติมเต็มที่ดี ย่อมส่งผลถึงการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ✔️ สวัสดิการด้านวันลาที่ยืดหยุ่น ข้าใจว่าตามกฎหมายแรงงานให้วันหยุดพักผ่อนประจำปี ขั้นต่ำอยู่ที่ปีละ 6 วัน แต่ในความเป็นจริงของปุถุชนทั่วไป เราไม่ได้สวมหมวกเป็นแค่พนักงานออฟฟิศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เรายังเป็นลูก เป็นภรรยา เป็นพ่อ เป็นแฟน เป็นโลกทั้งใบของสัตว์เลี้ยง ยังมีอีกหลายสิ่งที่คนทำงานต้องแบกภาระไว้บ่นบ่า วันลาพื้นฐานดังกล่าวอาจไม่เพียงพอ ✔️ สวัสดิการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต ด้วยสภาวะหลายอย่างในปัจจุบัน ซึ่งบีบคั้นให้คนต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย รวมถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่มีปัญหาทางจิตใจมากขึ้น “โรคซึมเศร้า” เป็นหนึ่งในโรคที่พบมากในวัยทำงาน ✔️ สวัสดิการที่ตอบโจทย์เรื่องไลฟ์สไตล์ ข้อนี้เป็นสวัสดิการที่เน้นเรื่องไลฟ์สไตล์ […]

พนักงาน 12 แบบ ที่องค์กรต้องร้องยี้

1.ทำงานไปวันๆ ไม่สนโลก คือ ประเภทที่ทำงานแบบขอไปที ตื่นมาทำงานแล้วก็นับเวลารอเลิกงาน แต่ในระหว่างวันแทบไม่ใส่ใจในเนื้องาน หรือสนใจที่จะพัฒนาตนเองเลย2.วิจารณ์เก่ง บุคคลประเภทนี้มักมองทุกอย่างในแง่ลบอยู่เสมอ ทั้งในเรื่องของงานหรือแม้กระทั่งเรื่องราวทั่วไปของบริษัท3.คนที่ไม่คิดจะพัฒนาตัวเอง คนประเภทนี้มักไม่อยากก้าวออกจากกรอบ แม้บริษัทจะหยิบยื่นข้อเสนออันโอชะให้ โดยคนพวกนี้มักปฏิเสธว่าตนเองไม่พร้อม ยังไม่อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ4.ป่วยทิพย์ ตามกฎหมายที่ระบุไว้ให้จำนวน 30 วันต่อปี แต่พนักงานบางคนก็ใช้ช่องโหว่ตรงนี้ในการมาเล่นแง่กับบริษัทในการใช้วันลาป่วย แต่แท้จริงแล้วคือการป่วยทิพย์5.สายเสมอ พนักงานประเภทนี้มักมีนาฬิกาไว้เป็นแค่เครื่องประดับ แต่แทบไม่ได้สนใจเวลาที่อยู่บนข้อมือเลย6.นินทาคนอื่นเป็นกิจวัตร เรื่องราวของการนินทาแม้จะมีอยู่ในทุกสังคม โดยเฉพาะในสังคมมนุษย์เงินเดือน ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้7.สร้างกลิ่นทำลายบรรยากาศ สุขอนามัยถือเป็นเรื่องสำคัญในการใช้ชีวิตกับคนหมู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของกลิ่นไม่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นปาก กลิ่นตัว กลิ่นตด8.คุยโทรศัพท์ส่วนตัวในเวลางาน การคุยโทรศัพท์เรื่องส่วนตัวในเวลางาน อาจจะไม่เรื่องที่ผิดอะไรนัก แต่บางคนดันเอาเวลางานไปโทรศัพท์คุยเล่นกับเพื่อนในเรื่องที่ไม่จำเป็นบ้างหรือหายตัวไปจากโต๊ะทำงาน เพื่อคุยโทรศัพท์นานๆ9.รับบทแม่ค้า เปิดตลาดขายของ การนำสินค้ามาให้ขายให้แก่เพื่อนๆ ในออฟฟิศ ก็อาจไม่เรื่องแปลกและไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไรนัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอยู่ภายใต้คำว่ากาละเทศะด้วย10.ทำตัวเป็นโทรโข่ง การคุยเล่นเพื่อผ่อนคลายในระยะเวลาสั้นๆ จากงานที่ตึงเครียด ก็ย่อมพออนุโลมได้ แต่ถ้าหากเสียงที่เกิดขึ้น ดันเป็นเสียงเพลงจากลำโพง เสียงหัวเราะพูดคุยหยอกล้อกันตลอดทั้งวัน ย่อมก่อให้เกิดการทำลายสมาธิในการทำงานของเพื่อนร่วมงานได้11.ชีพจรลงเท้า จะมีพนักงานบางพวกที่ชอบเดินไปคุยกับคนนู้นทีคนนี้ที เดินไปหากันแบบข้ามแผนก แล้วยืนเม้าท์กันแบบนานเกินเหตุ12.เคลมทุกอย่างเป็นผลงานตัวเอง เคยไหมที่ทำงานแทบตายแบบถวายหัว แต่สุดท้ายโดนเพื่อนร่วมงานขโมยเครดิตไปเสียอย่างนั้น

🎯 เคล็ดลับ สอนพนักงานใหม่ให้เรียนรู้และเป็นงานเร็ว 🎯

🌈 เตรียมแผนการสอนงาน ผู้สอนต้องมีแผนการสอนที่สามารถถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น เอกสาร หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นในการสอนพนักงานใหม่การเตรียมแผนการสอน ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดแผนการสอนงานที่ดีเท่านั้น แต่ยังจะทำให้ตัวผู้สอนเองได้ทบทวนความรู้ 🌈 ต้องมีเวลาสอนอย่างเต็มที่ ผู้สอนต้องมีเวลาในการสอนงานอย่างเต็มที่ อย่าอ้างว่างานยุ่งมากจนไม่มีเวลามาสอนให้ หากเป็นเช่นนั้น การที่เราจะได้พนักงานใหม่ที่ทำงานเป็นเร็วก็ต้องยืดเวลาออกไปอีก 🌈 อย่าคิดว่าทำเองแล้วจะเร็วกว่า “ทำเองเร็วกว่าตั้งเยอะ” หากผู้สอนยังคงมีความคิดเช่นนี้อยู่ การที่พนักงานจะได้รับความรู้ และทำงานเองได้เร็วก็คงจะเป็นเรื่องยากเพราะพนักงานคนนั้นก็จะไม่ได้ทำงานเองจริง ๆ เสียที ไม่ได้ทดลองแก้ปัญหา หรือเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้วยตัวเองจริง ๆ 🌈 ใจเย็นและให้โอกาส ไม่ใช่เรื่องแปลกที่พนักงานใหม่มักจะสร้างความผิดพลาด เมื่อต้องทำงานเองเป็นครั้งแรก คุณควรที่จะมีความใจเย็น บางครั้งเราอาจจะรู้สึกหงุดหงิดเมื่อเขาไม่สามารถทำตาม หรือเข้าใจในส่ิงที่เราพูดได้ บางครั้งอาจจะทำได้ช้ากว่าที่คาดหวังไว้ ผู้สอนต้องให้โอกาส ลดความคาดหวังให้น้อยลงสักนิด 😊😊

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกน้องมีปัญหา?

1.พูดคุยกันเมื่อทำผิด ในฐานะหัวหน้างานควรหาโอกาสเข้าไปพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ไม่ควรแสดงออกว่าคุณต้องการว่ากล่าวตักเตือนเพียงอย่างเดียวควรแสดงเจตนาว่าต้องการช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น2.เริ่มต้นอย่างนุ่มนวล ควรเริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคุณอาจจะให้สัญญาณว่า กำลังจะเริ่มต้นพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องลำบากใจที่จะพูดถึงแต่คุณก็จำเป็นต้องพูด เพื่อหาแนวทางแก้ไข3.ชี้ให้เห็นผลดีเมื่อแก้ปัญหาสำเร็จ วิธีพูดคุยที่ดีที่สุดคือการพูดอย่างตรงไปตรงมา และเข้าใจง่าย ไม่ต้องอ้อมค้อม โดยบอกลูกน้องว่าหากเขาสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จะส่งผลดีอย่างไรต่อตัวเขาและองค์กร4.ทำข้อตกลงในการปรับปรุงตน เมื่อพูดคุยกันจนเข้าใจแล้ว ควรกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงตน อาจเริ่มตั้งแต่วันรุ่งขึ้นเป็นต้นไปจนถึงระยะเวลาเท่าใดให้ลูกน้องเป็นผู้กำหนดกรอบเวลาด้วยตนเอ5.ติดตามผล เมื่อถึงเวลาการประเมินผล คุณอาจพบว่าบางปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข อาจเป็นเพราะยังแก้ไม่ถูกจุด คุณอาจต้องลองวิเคราะห์ปัญหาดูอีกครั้งและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

💡 สาเหตุที่ลูกน้องไม่ยอมรับเป็นเพราะอะไร มาดูกัน 💡

👉คุณคิดเล็กคิดน้อย หยุมหยิมเกินไปหรือเปล่า เช่น ลูกน้องลาป่วยก็จ้องจับผิดว่าป่วยจริงหรือเปล่า ถึงแม้จะรู้ว่าลูกน้องป่วยการเมือง ก็แกล้งทำเป็นเฉย ๆ บ้างก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแสดงออกว่ารู้ทันลูกน้องไปเสียทุกอย่าง👉ปล่อยปละละเลยลูกน้องเกินไปหรือเปล่า บางทีก็เป็นเรื่องของความพอดีไม่จู้จี้มากไป และไม่ยืดหยุ่นจนขาดวินัย หัวหน้าที่ดีต้องช่างสังเกต รู้ว่าแต่ละคนในทีมกำลังทำอะไรอยู่👉ห่างเหินลูกน้องเกินไปหรือเปล่า หัวหน้าที่คลุกคลีกับลูกน้องอยู่เสมอจะเกิดความสนิทสนมและลูกน้องเกิดความไว้วางใจ แล้วคุณเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า👉 หูเบาหรือเปล่า ลูกน้องที่ชอบประจบเจ้านายมีอยู่ไม่น้อย และการแก่งแย่งชิงดีเพื่อเป็นที่รักของเจ้านายก็พบเห็นได้อยู่บ่อย ๆ ในฐานะหัวหน้าคุณต้องวางตัวเป็นกลาง มีความยุติธรรม ไม่รักลูกน้องคนไหนมากเป็นพิเศษ👉เป็นตัวอย่างที่ดีของลูกน้องหรือเปล่า หากคุณไม่ทำตัวให้น่านับถือ การแต่งตัว การวางตัว ดูไม่เป็นมืออาชีพเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ไม่ฟังลูกน้องใครที่ร่วมงานด้วยย่อมอึดอัด คุณควรปรับปรุงตัวเป็นแบบอย่างที่ดี และสร้างบรรยากาศการทำงานให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น 😊😊

🏆 7 กลยุทธ์ทำงานหลายโปรเจกต์พร้อมกันอย่างไรให้ปัง 🏆

✔️ เริ่มวางแผน เมื่อต้องทำงานหลายโปรเจกต์พร้อมกันยิ่งต้องเพิ่งการวางแผนให้ดีกว่าเดิม เริ่มจากการประเมิณสถานการณ์เบื้องต้น เช่น ต้องทำอะไรบ้าง ต้องใช้ระยะเวลาในการทำเท่าไร ต้องใช้คนกี่คน✔️ จัดลำดับความสำคัญของงาน กำหนด task ที่จะต้องทำในแต่ละโปรเจกต์ พร้อมประเมิณความสำคัญของแต่ละ task แล้วเริ่มวางแผนทำ task ที่มีความจำเป็นและสร้างผลกระทบในงานแต่ละโปรเจกต์นั้น ๆ และมอบหมายงาน✔️ ใช้เครื่องมือจัดการงานโปรเจกต์แบบออนไลน์ เครื่องมือจัดการงานโปรเจกต์แบบออนไลน์ที่เป็นตัวช่วยชั้นดีให้คุณสามารถบริหารโปรเจกต์ที่มีมากมายอยู่ในมือได้อย่างมีประสิทธิภาพพราะคุณและทีมสามารถเห็นภาพรวมของโปรเจกต์ได้แบบ real time และทุกคนในโปรเจกต์มองเห็นภาพรวมเดียวกัน✔️ หมั่นรีวิวและปรับแผนอยู่เสมอ จัดประชุมเพื่อรีวิวระหว่างทำงานแต่ละโปรเจกต์อยู่เสมอ เพื่อเช็กว่าการทำงานในโปรเจกต์ยังเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ และเป็นการรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทำงาน✔️ รู้จักกระจายความรับผิดชอบ เพราะคุณมีงานหลายอย่างที่จะต้องทำ มีเรื่องหลายเรื่องที่จะต้องตัดสินใจในการทำโปรเจกต์แต่ละโปรเจกต์✔️ โฟกัสกับงานที่ทำอยู่เสมอ หลาย ๆ ครั้งคุณอาจจะหลุดโฟกัสทำให้ทำงานพลาดได้ง่าย ๆ และนอกจากการจัดเรียงความสำคัญแล้ว การโฟกัสในงานที่ทำอยู่ก็เป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรละเลย✔️ สื่อสารกับทีมงานอยู่เสมอ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างคนในทีมยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การทำงานดำเนินไปได้ด้วยดี และประสบความสำเร็จได้ 😊😊

8 ทักษะเด็ดๆ ที่จะช่วยให้เด็กจบใหม่ ไม่ว่างงาน

มีทัศนคติเชิงบวก เป็นสิ่งที่องค์กรต้องการเป็นอย่างมากนื่องจากคนเหล่านั้นจะมีแต่ความคิดแง่ดี มองโลกในแง่ดี มีไหวพริบในการแก้ปัญหาได้ดี และรวดเร็ว การสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าคือสถานการณ์ขับขันที่เราจะต้องแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งภายในระยะเวลาที่รวดเร็วหากเราสามารถผ่านไปได้ จะแสดงถึงความมีสติ ความรอบรู้ หรือแม้แต่ความเป็นผู้นำ3.มีความอดทน เด็กยุคใหม่อาจถูกตีตราว่าเป็นคนยุคที่มีความอดทนต่ำ ไม่มีความอดทนอดกลั้น เจอเหตุการณ์อะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ หรือไม่ทันใจก็จะเลิกล้มไป ไม่ทำ หรือลาออก4.ต้องมีความรับผิดชอบ เป็นสิ่งที่ทุกองค์กร ทุกคนต้องการ พร้อมที่จะเรียนรู้ พัฒนาจากสิ่งที่พลาดพลั้ง และตั้งใจ มุ่งมั่น และความสำเร็จอันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาคนทั่วไป5.มีความสามารถที่หลากหลาย การมีความสามารถที่หลากหลายนั้นทำให้เราเป็นเหมือนทรัพยากรที่มีค่ากับองค์กรมากขึ้น และอีกทางหนึ่งก็อาจจะเป็นคนที่พัฒนาองค์กรได้ถูกทิศถูกทางขึ้นด้วย6.สามารถปรับตัวให้เข้ากับองค์กรได้ดี วัฒนธรรมองค์กรที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในที่ทำงาน7.ความสามารถในด้านภาษา/ คอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ในงานปัจจุบัน ซึ่งทักษะภาษาอังกฤษนั้นยังเป็นทักษะทางภาษาอันดับ 1 ที่องค์กรต้องการ และทักษะทางคอมพิวเตอร์ แค่โปรแกรมMicrosoft office คงยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีทักษะโปรแกรมอื่น ๆ เพิ่มเติม8.มีความรู้ความสามารถพื้นฐานในสายงานที่เกี่ยวข้อง แต่ละสายงานต้องการทักษะที่แตกต่างกัน เพื่อการทำงานที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

🖐”ทำไมถึงลาออก” คำถามที่คุณควรถามเมื่อพนักงานลาออก ❓

1️⃣ ทำไมคุณถึงตัดสินใจลาออก ? สิ่งที่คุณควรรู้ให้ได้คือสาเหตุของการลาออก ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมและหากอาจกลายเป็นสาเหตุใหญ่ในบริษัทคุณควรรีบแก้ไขต้นเหตุโดยด่วน 2️⃣ มีอะไรที่องค์กรควรปรับปรุงให้ดีขึ้นได้บ้าง เพื่อช่วยให้พนักงานมีความสุขและป้องกันไม่ให้พนักงานคนอื่นๆที่อาจจะเจอปัญหาเดียวกันจนทำให้อยากยื่นลาออกตาม 3️⃣ เพราะได้งานที่ใหม่เลยตัดสินใจลาออก? คำตอบของคำถามดังกล่าวเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากเพราะช่วยให้คุณทราบถึงข้อเสนอจากบริษัทใหม่ คุณจะทราบถึงการแข่งขันทางด้านสวัสดิการ การทำงานที่ยืดหยุ่น และวั ฒนธรรมที่อื่นๆ 4️⃣ เงินเดือนที่ได้รับน้อยเกินไป ? อย่างน้อยคุณก็ได้ทราบถึงเรื่องของเงินเดือนที่พนักงานได้รับนั้นน้อยไปในความรู้สึกของพวกเค้า หากมีพนักงานที่แจ้งลาออกด้วยสาเหตุนี้เป็นจำนวนมาก คุณควรพิจารณาปรับโครงสร้างเงินเดือนทั้งองค์กรใหม่ 5️⃣ มีปัญหากับหัวหน้างานหรือไม่ ? แน่นอนว่าพนักงานคนดังกล่าวไม่กล้าจะพูดตามตรงกับหัวหน้างานของเขาเองในขณะที่ยังทำงานอยู่ แต่การถามด้วยคำถามสัมภาษณ์ก่อนลาออกจะช่วยให้เจอสิ่งที่เค้าไม่ได้พูดออกมาเกี่ยวกับหัวหน้างาน 6️⃣ เพราะความไม่โปร่งใสทำให้พนักงานรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรม ? เป้าหมายของคุณคือการค้นหาถึงความโปร่งใสที่มีในองค์กรซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้พนักงานของคุณมีคุณค่า 7️⃣ คุณได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสายงานเพียงพอหรือไม่ พนักงานลาออกด้วยเหตุผลที่ว่าไม่สามารถพัฒนาตัวเองในสายอาชีพให้ดียิ่งกว่าเดิม คุณควรจัดหาโปรแกรมพัฒนาพนักงานภายในองค์กร 8️⃣ ชอบอะไรและไม่ชอบอะไรในงานคุณมากที่สุด สิ่งสำคัญคือการที่คุณได้รู้ว่าบริษัทได้มอบหมายงานที่ทำให้พนักงานทำงานด้วยความสุข 9️⃣ คุณจะแนะนำงานที่นี่ให้เพื่อนต่อหรือไม่ ถ้าไม่ ช่วยบอกเหตุผล ? ถึงแม้ว่าพนักงานนั้นกำลังจะลาออกจากงาน คุณยังอยากให้พนักงานดังกล่าวพูดถึงบริษัทในทางที่ดี แต่หากผลลัพธ์เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม คุณควรค้นหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาจะดีกว่า 🔟มีอะไรอยากบอกเพิ่มเติมอีกไหม คำถามที่ทรงพลังมากที่สุด ซึ่งคุณอาจเลือกไม่ถามพนักงานตอนสัมภาษณ์งานแต่ให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรอย่างแท้จริง 😊😊

🚫 รับมือเพื่อนร่วมงานขี้บ่น ตัดบทยังไงไม่ให้น่าเกลียด 🚫

💭 กำหนดนโยบายองค์กรที่รัดกุม มนุษย์ขี้บ่น ติโน่นนี่ไปเรื่อย งานเยอะก็บ่น งานน้อยก็คอมเพลน มีอยู่ในทุกองค์กร ดังนั่นองค์กรควรกำหนดนโยบายการทำงานที่ชัดเจน ตลอดจนจัดสถานที่ทำงานให้ปลอดจากการพูดสิ่งไม่สร้างสรรค์ สร้างองค์กรที่เมื่อพักเบรกจากเวลางาน จะคุยแต่เรื่องราวที่มีสาระ 💭 จับตาดูพฤติกรรมคนช่างบ่น ช่างติ คอยติดตามพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดโดยการให้เขามีส่วนร่วมกับโปรเจกต์งานที่ทำอยู่เสมอ หัวหน้างานเองก็ไม่ควรปล่อยปะละเลย เข้ามามีส่วนร่วมกับทีม เพราะมนุษย์ขี้บ่นเหล่านี้ ชอบอยู่ใต้เรดาร์การจับจ้องของหัวหน้าได้ดี 💭 ให้โอกาสในการปรับตัว หากพฤติกรรมความขี้บ่นสร้างปัญหามากเกินไป ถึงเวลาที่จะต้องเรียกพนักงานมาตักเตือน โดยเริ่มจากการให้คำแนะนำและปรับเปลี่ยนทัศนคติ ว่าการพร่ำบ่นนั้นทำลายบรรยากาศการทำงานของเพื่อนร่วมงาน 💭 ออกมาตรการที่เด็ดขาด หลังจากให้โอกาสปรับตัวแล้ว แต่พฤติกรรมช่างบ่น ขี้นินทายังไม่เปลี่ยน ก็ต้องใช้มาตรการหนักในการจัดการ และมีเอกสารให้ลงนาม 💭 ถ้ายังไม่ดีขึ้นก้ต้องปล่อยไป ถึงแม้พนักงานจอมบ่นจะมีความสามารถเรื่องงานหรือทักษะ Hard Skill มากเพียงใด แต่หากพฤติกรรมของคุณ ทำให้เพื่อนร่วมงานไม่สามารถทำงานร่วมด้วยได้ องค์กรก็อาจไม่เลือกที่จะเก็บคุณไว้ 😊😊

💡 แนะนำ เคล็ดลับการให้ฟีดแบ็กพนักงานที่ได้ผลดีเยี่ยม 💡

👉 บอกเขาให้ชัดเจน ควรระบุให้ชัดเจนไปเลยว่า คุณกำลังพูดถึงเรื่องอะไร งานในส่วนไหนที่ดี เพราะอะไร งานในส่วนไหนยังไม่ดี เพราะอะไร 👉 ระบุที่พฤติกรรม ไม่ใช่ที่ตัวบุคคล คุณควรพูดว่า งานชิ้นนี้ไม่เรียบร้อย แทนที่จะพูดว่า คุณนี่ชุ่ยจริง ๆ เป็นการระบุไปเลยว่าส่วนไหนที่ยังต้องแก้ไขไม่ควรเหมารวมว่าเขามีนิสัยอย่างนี้อย่างนั้น เพียงเพราะเขาทำผิดพลาด 👉 การให้ฟีดแบ็กเพื่อช่วยเหลือ ให้คำแนะนำด้วยความจริงใจ ปรารถนาที่จะให้เขาได้พัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น 👉 ให้คำแนะนำที่เป็นรูปธรรม คำแนะนำที่จะเป็นประโยชน์ต่อพนักงานควรเป็นรูปธรรม เพื่อให้พนักงานเข้าใจได้ง่าย และสามารถนำไปปฏิบัติต่อได้ 👉 เพิ่มพลังให้ฟีดแบ็ก แค่คุณถามพนักงานก่อนว่า พวกเขาอยากจะฟังฟีดแบ็กเกี่ยวกับงานชิ้นนี้หรือไม่ เพื่อให้พนักงานได้เป็นคนเลือกเอง และเมื่อเขาเป็นคนตัดสินใจเอง เขาก็จะตั้งใจฟังอย่างเต็มที่ 👉 ไม่ควรถามว่า “ทำไม” ถึงทำอย่างนี้ เพราะจะทำให้พนักงานเกิดการต่อ ต้าน แต่ควรตั้งคำถามด้วยคำว่า “อะไร” และ “อย่างไร”แทน 👉 ตรวจสอบว่าพนักงานเข้าใจคำแนะนำของคุณหรือไม่ โดยการถามพนักงานเพื่อเช็คความเข้าใจ หรือสังเกตว่าเขามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่แนะนำหรือไม่ 👉 ฟีดแบ็กรวมถึงคำชมเชยด้วย เมื่อพนักงานทำดีก็ควรได้รับคำชมเช่นกัน ควรมองหาข้อดีของพวกเขา แล้วกล่าวชื่นชมพนักงานในสิ่งที่เขาทำได้ดี เพื่อเป็นกำลังใจ😊😊